วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

"ทฤษฎี7" สร้างพลังสมองให้ลูก


          ทฤษฎีโภชนาการ 7 กลุ่มอาหาร เหมาะสำหรับยุคสมัย มั่นใจว่าได้สารอาหารครบถ้วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมอง สติปัญญา และร่างกายเหมาะสำหรับยุคสมัย มั่นใจว่าได้สารอาหารครบถ้วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมอง สติปัญญา และร่างกายเพื่อลูกน้อยเติบโตแข็งแรงสมวัยอย่างเต็มศักยภาพขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสมองและนักโภชนาการ ย้ำ 7 กลุ่มอาหารสร้างไอคิวได้         

          ดร. ขวัญ หาญทรงกิจพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพสมองในเด็ก จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกาเผยว่า เด็กจะมีพัฒนาการทางสมองอย่างเต็มที่ได้จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ขวบ เพราะช่วงนี้เซลล์สมองจะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด จึงถือเป็นโอกาสทองสำหรับพ่อแม่ในการสร้างเสริมพลังสมองและสติปัญญาแก่ลูกน้อย

          “อาหารที่มีคุณภาพเป็น 1 ใน 3 องค์ประกอบหลักที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสมองในเด็ก นอกเหนือจากปัจจัยเรื่องพันธุกรรมและกระบวนการเรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อม การดูแลเอาใจใส่ให้เด็กรับประทานอาหารที่ดีมีคุณภาพ ให้คุณค่าสารอาหารที่ดีครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันจึงมีส่วนสำคัญมากในการสร้างเสริมสติปัญญา วางรากฐานเพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์ในทุกๆ ด้านต่อไป”

          ดร. ขวัญย้ำในเวทีเสวนาวันนี้ว่า “ความแตกต่างของระดับสติปัญญาของคนเราขึ้นอยู่กับสมองของใครมีเยื่อไมอีลิน หรือเปลือกหุ้มเส้นใยประสาทที่เติบโตเต็มที่มากกว่ากัน เพราะเยื่อไมอีลินเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ที่ส่งผลต่อความฉลาดและสติปัญญา ช่วยในการส่งสัญญาณประสาทได้เร็วและแม่นยำขึ้น ฉะนั้น การกระตุ้นให้เยื่อไมอีลินเติบโตอย่างเต็มที่จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างเสริมพลังสมองในเด็ก โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างเยื่อไมอีลินของลูกให้เพิ่มขึ้นได้จากอาหารที่ดีมีคุณภาพ และการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ โดยทฤษฎี 7 กลุ่มอาหารที่แนะนำในวันนี้ เป็นหลักการที่ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองและร่างกายทั้งหมด มีบทบาทสำคัญในการสร้างความฉลาดให้สมองได้เป็นอย่างดี”

          ด้าน เกศกนก สุกแดง นักวิชาการโภชนาการ ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช ย้ำว่า การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนเป็นผลดีต่อคนทุกเพศทุกวัย ทฤษฎี 7 กลุ่มอาหารเป็นหลักโภชนาการที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเด็กวัย 1-3 ขวบซึ่งเป็นวัยทองแห่งพัฒนาการทางสมอง เพราะเป็นทฤษฎีที่เมื่อนำไปใช้ทำให้มั่นใจได้ว่าร่างการจะได้รับสารอาหารครบถ้วนและสมดุล แถมยังง่ายต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

          ตามหลักการของทฤษฎี 7 กลุ่มอาหาร ร่างกายต้องการชนิดอาหารในแต่ละวัน ดังนี้

          กลุ่มที่ 1 ธัญพืช อุดมไปด้วยกลุ่มวิตามินบี ซึ่งช่วยพัฒนาเรื่องความจำ และกรดโฟลิคที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบประสาทของเซลล์

          กลุ่มที่ 2 ผัก แหล่งรวมวิตามินซึ่งช่วยเรื่องกระบวนการคิดการเรียนรู้

          กลุ่มที่ 3 ผลไม้ เช่น สตอเบอร์รี่ ถ้าทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสมอง

          กลุ่มที่ 4 น้ำมัน ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างเยื่อไมอีลิน

          กลุ่มที่ 5 นม มีสารอาหารซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเยื่อประสาท

          กลุ่มที่ 6 เนื้อสัตว์ มีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่ช่วยปกป้องเซลล์สมองในเวลาที่เกิดความเครียด

          กลุ่มที่ 7 ถั่ว ซึ่งเป็นแหล่งรวมแร่ธาตุนานาชนิดทั้งแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมอง ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท

          โดยทฤษฎี 7 กลุ่มอาหารนี้จำแนกอาหารที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับในแต่ละวัน ตามชนิดของอาหาร ผู้บริโภคจึงสามารถนำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้ และปฏิบัติตามได้ง่ายในชีวิตประจำวันไม่เกิดความสับสนในการเลือกรับประทาน และยังได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล

          “ใน 1 วัน เราควรรับประทานเนื้อสัตว์และถั่ว เพื่อให้เกิดความสมดุล เพราะการบริโภคโปรตีนจากเนื้อมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อตับและไต โปรตีนจากพืชจะช่วยให้ร่างกายไม่ต้องทำงานหนักมากจนเกินไป และยังมีใยอาหารและแร่ธาตุต่างๆ อีกด้วย”

          เกศกนก ยกตัวอย่างเมนูอาหารเช้าเพื่อสุขภาพตามทฤษฎี 7 กลุ่มอาหาร คือ นม 1 แก้ว ขนมปังโฮลวีททาเนยถั่ว 1 แผ่น สลัดผักผลไม้ ใส่ปลาแซลมอน หรือไข่ต้ม เพียงเท่านี้ก็จะได้สารอาหารเพียงพอแล้ว และควรทานทุกมื้อให้ครบ 7 กลุ่มอาหาร

เมนูเพื่อลูกรัก

วงจรชีวิตของมนุษย์เริ่มตั้งแต่วัยเด็กทารก มีช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุ เรียกกันง่าย ๆ ว่า ตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งวัยเด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญอย่างมากที่สุด เพราะจะพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของสังคม โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียน ที่อยู่ในช่วงอายุ 3 - 5 ขวบ เป็นวัยที่ถือว่า "วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ" ที่มีการเปลี่ยน แปลงจากวัยทารก ก้าวสู่ความพร้อมที่จะเรียนรู้ สังคมภายนอกที่กว้างออกไป จากสังคมปิดภายในครอบครัว ดังนั้นเราจึงควร สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กของเรา เพื่อไปเผชิญต่อสภาวะภายนอกบ้าน โดยเริ่มที่เรื่องของสุขภาพเป็นเรื่องแรก เพราะนี่คือพื้นฐานสำคัญ
1. อาหารเช้าเป็นอาหารมื้อที่สำคัญ แม้จะเร่งรีบสักปานใด ก็ต้องกินอาหารเช้า เพราะเป็นอาหารมื้อที่มีผลต่อการพัฒนาทางร่างกายและสติปัญญาควรเตรียมให้ พร้อม เด็กหลายคนต้องตื่นแต่เช้า อาจยังไม่รู้สึกอยากรับประทานอาหาร ควรสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากรับประทาน ทำอาหารที่เด็กชอบ และสร้างสรรค์เมนูใหม่ ไม่ให้เกิดความจำเจ
2. ฝึกให้เด็กมีนิสัยชอบกินผัก ซึ่งเรื่องของการกินผักกับเด็กค่อนข้างจะเป็นปัญหาใหญ่ เด็กหลายๆคนมักไม่ชอบผักเอาเลย เราลองย้อนมาดูสาเหตุกันซิว่าทำไมเด็กไม่ชอบ ซึ่งจะพบว่า ส่วนใหญ่แล้วที่ไม่ชอบก็เพราะว่า ผักมีกลิ่นแรง รสไม่อร่อย ฉะนั้นการเริ่มต้นฝึกการกินผักโดยเลือกผักที่มีสีและน่าตาน่ารับประทาน เช่น แครอท ดอกกะหล่ำ แตงกวา บรอกโคลี เป็นต้น ใส่ลงไปชิ้นเล็ก ๆ ในอาหารก่อน เช่น ในข้าวผัด ซุป แกงจืด เป็นต้น หรือนำไปประกอบอาหารที่เด็กชอบ เอาไปชุบแป้งทอด ผสมในหมูสับทอด หรือนำไปลวกให้กลิ่นหายไปบ้าง นำมาคลุกเนยหรือ น้ำตาลเล็กน้อยเป็นการปรับรสชาติหรือหั่นเป็นชิ้น ๆ แช่เย็นจะทำให้มีความกรอบที่เด็กชอบ
3. สร้างนิสัยช่วยตัวเอง เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยตัวเองในเรื่องต่างๆ เช่น แปรงฟัน ทานข้าว แต่งตัว โดยผู้ปกครองคอยแนะนำ คอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดเท่านั้น ในครั้งแรกอาจทำให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน จำไว้นะค่ะ ผิดถูกไม่เป็นไร ช่วยอยู่ห่าง ๆ คอยสอน คอยให้กำลังใจ อย่างใจเย็นๆในที่สุดเด็กน้อยของเราก็จะทำได้
4. เปิดโอกาสให้เรียนรู้จากเพื่อนวัยเดียวกัน การทำเช่นนี้เป็นการเรียนรู้ทางสังคมที่สำคัญ เด็กจะได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักปรับตัว
5.ประการสุดท้าย ขอย้อนกลับมาที่เรื่องอาหารที่ไม่ควรมองข้าม เด็กวัยนี้ส่วนใหญ่มักติดใจรสหวานและซ่าของน้ำอัดลม ในน้ำอัดลมจะประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรให้เด็กหลีกเลี่ยง

อย่าลืมนะค่ะ เด็กมักทำตามผู้ใหญ่ฉะนั้น ที่สำคัญที่สุดคนในบ้านต้องทำเป็นตัวอย่าง
วันนี้ขอจบแค่นี้ก่อนสำหรับการสร้างเด็กให้มีสุขภาพดี และมีตำรับอาหารเด็กมาฝากกันเช่นเคย 2 ตำรับค่ะ ลองเอาไปทำให้เด็ก ๆรับประทานกันนะค่ะ


หมูม้วนสาหร่ายไข่กุ้ง

ส่วนผสม
หมูบด 1 ถ้วยตวง
กุ้งสับ 1 ถ้วยตวง
ไข่กุ้ง ¼ ถ้วยตวง
รากผักชีกระเทียมพริกไทยโขลกละเอียด ½ ช้อนโต๊ะ
แป้งข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะ
ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย ½ ช้อนชา
ซอสหอยนางรม 2 ช้อนชา
แผ่นสาหร่าย
แครอท บรอกโคลี มะเขือเทศ
วิธีทำ
1.ผสมหมูบด กุ้งสับ รากผักชีกระเทียมพริกไทย ซอสปรุงรส น้ำตาลทราย ซอสหอยนางรมและแป้งข้าวโพด นวดให้เข้ากัน พักไว้ 10 นาที
2.วางแผ่นสาหร่ายบนเขียง ตักส่วนผสมในข้อที่1 ทาให้ทั่วแผ่นแล้วทาทับด้วยไข่กุ้งม้วนเป็นแท่ง
3.นำไปนึ่งจนสุก ยกลงพักให้เย็นจึงมาหั่นชิ้นเสิร์ฟกับน้ำจิ้มและผักตามชอบ







ผลไม้ถ้วยซี๊ด

ส่วนผสม
แอปเปิลสีเขียว สีแดง 1 ถ้วยตวง
สับปะรด 1 ถ้วยตวง
องุ่น 1 ถ้วยตวง
น้ำมะนาว ¼ ถ้วยตวง
น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนชา
ไข่เป็ดต้มสุก 12 ฟอง
เบคอนหั่นสี่เหลี่ยมเล็กทอกกรอบ ½ ถ้วยตวง
ขนมปังกรอบ
เกลือป่น

วิธีทำ
1.เตรียมผลไม้โดยหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก แช่น้ำเย็นผสมเกลือป่นเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ผลไม้ดำตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำ
2.ผสมน้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ คนให้เข้ากัน
3.ไข่เป็ดต้มนำมาปอกเปลือกตัดด้านบนและควักไข่แดงออก
4.ตักผลไม้กับเบคอนที่เตรียมไว้ใส่ลงในไข่ 
5. เวลาเสิร์ฟจึงใส่น้ำยำลงไปเสิร์ฟทันทีกับขนมปังกรอบ