วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

รู้จักจุลินทรีย์สุขภาพบิฟิตัส


 
 
คนเราสุขภาพจะแข็งแรงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการมากๆ เลยนะคะ อย่างเรื่องของ “จุลินทรีย์สุขภาพบิฟิดัส” ที่นำมาเสนอกันในวันนี้ เป็นสาระน่ารู้ที่เชื่อว่าหลายต่อหลายคนก็คงยังไม่ทราบ
จุลินทรีย์สุขภาพ(บิฟิดัส) เป็น จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ทุกคนมีสุขภาพดี แข็งแรง มนุษย์เราจะได้รับจุลินทรีย์ตัวนี้โดยอัตโนมัติอยู่แล้วตั้งแต่แรกเกิด ด้วยวิธีการคลอดแบบธรรมชาติ และน้ำนมมารดา
จุลินทรีย์มีประโยชน์กับร่างกายคนเราถึง 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 มีผลต่อลำไส้ ในการจับกับผนังเยื่อบุทางเดินอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคเข้าไปสัมผัสกับเซลล์เยื่อบุ รวมไปถึงการปล่อยสารยั้บยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค ระดับที่ 2มีผลดีต่อเยื่อบุผิว ช่วยทำให้ชั้นเยื่อบุในทางเดินอาหารเรียงตัวแน่นขึ้น เพื่อกันไม่ให้เชื้อโรครุกล้ำผ่านเข้าไปได้ รวมถึงทำลายตัวรับสารพิษ (Toxin Receptor) อีกด้วย
และระดับที่ 3 มีผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (Innate Immunity) และควบคุมการทำงานของเดนดริติกเซลล์ (Dendritic Cell) และเม็ดเลือดขาวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปัญหาคือหลายปีที่ผ่านมาสถิติการคลอดเริ่มเปลี่ยนไป จากเดิมที่คลอดแบบธรรมชาติมีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก กลับค่อยๆ มีอัตราการผ่าตัดคลอดและมีน้ำนมไม่เพียงพอหรือไม่มีน้ำนมให้ลูกเลยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการผ่าตัดคลอดแบบปลอดเชื้อ การที่ทารกมีโอกาสสัมผัสกับจุลินทรีย์น้อยลง อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันหลังคลอดพัฒนาล่าช้ากว่าปกติ ส่งผลต่อความเสี่ยงการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารอักเสบ และโรคติดเชื้อ
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงฮาเนีย ซาแยฟสก้า หัวหน้าแผนกกุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์วอร์ซอร์ ประเทศโปแลนด์ กล่าวอธิบายในงานสัมมนา “สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในวันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย” ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันโภชนาการเนสท์เล่ ว่าปัจจัยที่ทำให้ทารกมีสุขภาพดีคือ การมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง
โดยภูมิคุ้มกันที่สำคัญส่วนหนึ่งได้มาจากการได้รับจุลินทรีย์สุขภาพจากแม่ในระหว่างการคลอดโดยวิธีธรรมชาติ (ผ่านทางช่องคลอด) และจากน้ำนมแม่ เช่น บิฟิดัส ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ รวมถึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของทารกให้แข็งแรง ทั้งนี้จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมีมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ ซึ่งในร่างกายมนุษย์แต่ละคนจะมีจุลินทรีย์ที่เด่นๆ อยู่ประมาณ 170 สายพันธุ์
ซึ่งการฝากครรภ์และเข้ารับคำแนะนำจากสูตินารีแพทย์อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และอีกทางเลือกหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจพิจารณาร่วมด้วยก็คือในส่วนของการเลือกนมสูตรเสริมจุลินทรีย์สุขภาพบิฟิดัส หรือ บิฟิดัส บีแอล ที่มีผลวิจัยทางการแพทย์ยืนยันแล้วว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของทารกและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจในทารกและเด็กเล็กได้
ทางด้านการแพทย์ ประโยชน์ของจุลินทรีย์ยังถูกนำไปใช้ในการรักษาโรคต่างๆ อีกมากมาย ตามคุณสมบัติของแต่ละชนิดที่แตกต่างกันไป เป็นสิ่งมีชีวิตตัวเล็กจิ๋วที่มีประโยชน์ไม่เล็กเลยใช่ไหมละคะ
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
สถาบันโภชนาการเนสท์เล่ 

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555



ปลูกฝังลูกใส่หมวกกันน็อคเมื่อขี่จักรยาน 

  • ส่งเสริมให้ลูกใส่หมวกกันน็อคทุกครั้งเมื่อขับขี่จักรยาน เพื่อความปลอดภัยหากเกิดอุบัติเหตุ
  • หมวกกันน็อคที่มีคุณภาพควรสามารถปรับเลื่อนสายรัดใต้คางเพื่อความเหมาะสมได้
  • เมื่อใส่หมวกกันน็อคแล้ว ตัวหมวกไม่ควรขยับเลื่อนไปมาได้เกิน 1 นิ้ว ไม่ว่าจะเลื่อนไปทิศทางใด หากหมวกกันน็อคที่ลูกใส่มีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับศีรษะของลูก ไม่ฟิตพอดี จะทำให้หมวกเลื่อนหลุดออกจากศีรษะได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
  • ถ้าเกิดอุบัติเหตุ - ลูกตกจากจักรยาน และหมวกกันน็อคกระแทกพื้นจนแตกหรือกระเทาะ ควรเลิกใช้โดยเด็ดขาด เพราะหมวกที่กระเทาะหรือแตก จะไม่สามารถป้องกันศีรษะของเด็กได้ดีจากการกระแทกหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นอีกครั้ง
  • เด็กๆ เรียนรู้จากการที่พ่อแม่ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ดังนั้น หากจะฝึกให้ลูกใส่หมวกกันน็อค คุณควรใส่หมวกกันน็อคทุกครั้งที่ขับขี่จักรยาน


ข้อควรพิจารณาในการซื้อรถจักรยานคันแรกให้ลูก 

  • หากลูกยังเล็ก ควรพิจารณาซื้อรถจักรยานที่มีล้อกันล้มที่ทำจากเหล็กมากกว่าทำกว่าด้วยพลาสติค
  • ไม่ควรซื้อรถจักรยานคันใหญ่เกินไปสำหรับรูปร่างของลูก โดยหวังให้ลูกใช้ขี่ไปจนโต เพราะว่ารถจักรยานคันใหญ่เกินไปจะทำให้ลูกทรงตัวและควบคุมรถลำบาก แถมยังเสี่ยงที่จะตกจากรถจักรยานได้ง่ายอีกด้วย จักรยานที่มีขนาดเหมาะสมกับตัวของลูกคือ เมื่อลูกนั่งบนแป้นจักรยานแล้ว เข่าควรตรงไปด้านหน้า และสองเท้าเหยียดถึงพื้นได้
  • ราคาจักรยานอาจอยู่ประมาณ 1000 - 3000 บาท จริงอยู่อาจมีรถจักรยานราคาถูกขายตามท้องตลาด แต่อาจปรับแฮนด์รถไม่ได้ และคุณภาพของเบรคไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ควรตรวจสอบให้ดีก่อนเสียเงินซื้อรถจักรยานให้ลูก

ล้อกันล้มของรถจักรยาน 

  • หากลูกยังเล็ก ควรพิจารณาซื้อรถจักรยานที่มีล้อกันล้มที่ทำจากเหล็กมากกว่าทำกว่าด้วยพลาสติค
  • เมื่อลูกย่างเข้าสู่วัย 5-6 ขวบ อาจขี่จักรยานพอเป็นโดยไม่ต้องใช้ล้อกันล้มแล้วก็ตาม อย่าเพิ่งรีบให้ลูกเลิกใช้ล้อกันล้ม ควรรอจนกว่าลูกสามารถขี่จักรยานได้ตรงและคล่องตัวแล้วจริงๆ เพราะถ้าลูกตกรถจักรยานและเจ็บตัว อาจเสียความมั่นใจและไม่อยากขี่จักรยานอีกเลย
  • หากยังสองจิตสองใจ อยากให้ลูกฝึกขี่รถจักรยาน 2 ล้อได้อย่างคล่องแคล่วก่อน และยังไม่อยากตัดล้อกันล้มออก คุณอาจใช้วิธีปรับล้อกันล้มให้สูงขึ้นจากพื้นประมาณ ครึ่งนิ้ว - 1 นิ้วก็ได้ ลูกจะได้หัดทรงตัวบนรถจักรยาน 2 ล้อ โดยยังมีล้อกันล้มอยู่เผื่อรถจะล้ม

ในไม่ช้า ลูกจะขี่รถจักรยานได้อย่างมั่นใจ และใส่ใจเรื่องความปลอดภัยในขณะเดียวกัน 



เรื่องและภาพ: Thaiparents.com