วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

ประเภทและอันตรายจากแป้งฝุ่น

ประเภทและอันตรายจากแป้งฝุ่น
แป้งฝุ่น เป็นเครื่องสำอางประเภทหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกสภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อากาศอบอ้าว แป้งฝุ่นโรยตัวจะช่วยให้รู้สึกสบายตัวหลังอาบน้ำลดการเหนียวเหนอะหนะของผิว หนัง นอกจากนี้แป้งฝุ่นโรยตัวที่มีส่วนผสมของเมนทอลจะได้รับความนิยมมาก เพราะจะช่วยให้รู้สึกเย็นสดชื่น นอกจากจะนิยมใช้แป้งฝุ่นโรยตัวหลังอาบน้ำแล้วยังอาจใช้ภายหลังโกนหนวดเพื่อ กลบหรือเคลือบผิวหนังที่โกนใหม่ ๆ ให้ดูเรียบร้อยขึ้น และลดการระคายเคืองได้
แป้งฝุ่นโรยตัวแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. แป้งฝุ่นโรยตัวเด็ก
2. แป้งฝุ่นโรยตัวทั่วไป
คำนิยามของ "แป้งฝุ่นโรยตัว" นั่นหมายถึง สิ่งปรุงที่มีลักษณะเป็นผงละเอียด หรืออนินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำซึ่งอาจแต่งกลิ่นหรือสี หรือแต่งทั้งกลิ่นและสีเพื่อใช้กับร่างกายหรือเสริมความงาม
แป้งฝุ่นโรยตัวเด็ก ใช้สำหรับโรยตัวทารก (อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 สัปดาห์) เด็กอ่อน(ตั้งแต่ 2 สัปดาห์จนถึง1ปี)และเด็กเล็ก (1-4 ปี) เพื่อดูดซับความเปียกชื้นของผิวหนังช่วยหล่อลื่นผิวหนังป้องกันการระคาย เคืองจากผ้าอ้อม หรือเครื่องนุ่งห่ม ดังนั้นจะพบว่าแป้งฝุ่นโรยตัวเด็กมีความละเอียดมากและจะต้องมีความ ปลอดภัยสูง เช่น ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ไม่ทำให้ผิวหนังบวมแดง และต้องมีคุณสมบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ดังนี้
ต้องไม่มีวัตถุห้ามใช้หรือวัตถุใดหรือสารใดที่เป็นอันตรายหรือไม่ปลอดภัยใน การใช้และใช้สีผสมที่ถูกต้อง ต้องไม่มีสารปนเปื้อน เว้นแต่ สารหนูให้มีปนเปื้อนได้ไม่เกิน 5 ส่วนในล้านส่วน โดยน้ำหนัก โซลูเบิลแบเรียมให้มีปนเปื้อนได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก ปรอทให้มีปนเปื้อนได้ไม่เกิน0.5 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก ตะกั่วให้มีปนเปื้อนได้ไม่เกิน 20 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก ต้องไม่มีกรดบอริกและ/หรือเกลือบอเรต เมนทอล การบูร และต้องไม่มีสปอร์ดูดขน
นอกจากอันตรายจากสารพิษต่าง ๆ แล้ว เชื้อจุลินทรีย์ในแป้งฝุ่นโรยตัวนั้นก็อาจก่อให้ เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้เช่นกัน เช่น
สตาฟิโลคอกคุสออเรอุส เป็นเชื้อจุลินทรีย์รูปกลม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อาศัยอยู่ตามผิวหนัง ลำคอ จมูก และลำไส้ของคน เป็นต้น ต้นเหตุสำคัญที่สุดในการเกิดหนอง ฝี สิว ถ้าผิวหนังมีบาดแผลหรือรอยถลอก เชื้อนี้จะสามารถเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลนี้และทำให้เกิดหนองหรือถ้าในภาวะ ที่ร่างกายมีความต้านทานต่ำ เชื้อนี้ก็จะเข้าแทรกซ้อนได้
ซาลโมเนลลา เป็นเชื้อจุลินทรีย์รูปแท่ง พบในลำไส้ของคนและสัตว์ สามารถสร้างท๊อกซินทำให้เกิดอาการไข้และโรคอาหารเป็นพิษ ทางสาธารณสุขจัดเชื้อ ซาลโมเนลลาเป็นเชื้อที่มีอันตรายร้ายแรง
ซูโดโมนาสแอรูจิโนซา เป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดแท่ง อาศัยอยู่ในน้ำ ดิน ของเน่าเสีย บางครับพบในลำไส้ของคนและสัตว์ เชื้อนี้มักจะแทรกซ้อน เช่น กรณีร่างกายได้รับอุบัติเหตุ เกิดบาดแผล หรือรับการผ่าตัด ร่างกายจะมีความต้านทานน้อยลง เมื่อได้รับเชื้อนี้เข้าไปอาจทำให้ถึงตายได้ ซูโดโมนาส นี้ยังดื้อต่อยาฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้ ดังนั้น จึงเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ง่าย
โคสตริดิอุม เป็นเชื้อจุลินทรีย์รูปแท่งนี้ไม่ต้องใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโตเป็น สาเหตุของการเกิดเน่าตายของเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะหลาย ๆ แห่ง เช่น ระบบอวัยวะสืบพันธุ์และกระเพาะปัสสาวะ และทำให้เกิดอาหารของโรคอาหารเป็นพิษนอกจากนี้ อันตรายที่เกิดจากมีสารข้ามใช้เกินมาตรฐาน ตลอดจนการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์แล้ว ส่วนประกอบอื่น ๆ ก็ไม่ควรมองข้ามไป เช่น ภาชนะบรรจุ ควรจะต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ ไม่เป็นสาเหตุของการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ และสารต่าง ๆ ควรมีการป้องกันการปนเปื้อนของฝุ่นละออง ในขณะที่วางจำหน่ายในท้องตลาด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นได้มาตรฐานจนถึงมือผู้บริโภค
การที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดสัดส่วนและห้ามใช้สารบางชนิดผสมในแป้งฝุ่นโรย ตัวเพราะสารเหล่านั้นมีอันตรายหรือพิษภัยซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
1. สารหนู เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่ปะปนอยู่กับแร่ธาตุอื่น ๆ มักใช้เป็นส่วนผสมในการกำจัดแมลงผสมในสี หรือแม้แต่ในกระดาษปิดฝาผนัง ถ้าได้รับและสะสมอยุ่ในร่างกายปริมาณมากจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยแบบเรื้อรัง ซึ่งอาการของโรคมักแสดงออกทางผิวหนังทำให้ผิวหนังมีสีดำที่รู้จักกันว่า "ไข้ดำ" มีการหนาของผิวหนัง อาการอื่นได้แก่ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องร่วง ซีด ชาตามปลายมือปลายเท้า ถ้าได้รับติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งของปอดตับ กระเพาะปัสสาวะตลอดจนมะเร็งเม็ดเลือด
2. โซลูเบิลแบเรียม มักใช้เป็นส่วนผสมในสารกำจัดศัตรูพืช แบเรียมสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางปาก ถ้าได้รับจำนวนมากเป็นเวลานานจะทำให้ตึงบริเวณกล้ามเนื้อของใบหน้า คอ อาจมีการอาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย หัวใจวาย และเสียชีวิตได้
3. ปรอท เป็นธาตุที่เป็นของเหลว สารประกอบของปรอทใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สี เครื่องไฟฟ้า เป็นต้น ปรอทสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางปากและการสูดดม ถ้าได้รับติดต่อกันนานจะเกิดสะสมในร่างกาย จะทำให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ไต ระบบทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งระบบประสาท
4. ตะกั่ว ส่วนประกอบของตะกั่วนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สี แบตเตอรี่ของเล่น หรือในน้ำมันเชื้อเพลิง ตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางปาก การหายใจหรือโดยการสัมผัส ถ้าได้รับติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้เกิดการสะสมของตะกั่ว และทำให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด และระบบประสาทส่วนกลางโดยเฉพาะทารกและเด็กเล็กจะได้รับพิษรวดเร็วและอาจ รุนแรงถึงพิการทางสมองได้ ซึ่งมีโอกาสที่จะพิการตลอดชีวิตถึงร้อยละ 50 เมื่อตะกั่วเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตไปจับกับเม็ด เลือด ทำให้เกิดอาการโลหิตจาง ตะกั่วบางส่วนไปสะสมในกระดูกโดยเข้าแทนที่แคลเซี่ยม ซึ่งเป็นโลหะที่จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน ทำให้มีอาการปวดตามข้อ กระดูกผุ อาจสะสมที่รากฟันและทำให้เกิดเส้นสีดำหรือสีม่วงบริเวณเหงือก เรียกเส้นตะกั่วและสามารถสะสมในไขมัน ระบบประสาท สมอง คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง มีอาการทางประสาท กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย ปวดและเป็นตะคริว โดยเฉพาะที่ขา ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ประสาทสัมผัสผิดปกติ เซื่องซึมและอาจตายได้
5. กรดบอริก ใช้เป็นสารระงับเชื้อ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และทำให้แป้งลื่นไม่ติดกันกรดบอริก สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางปาก และทางผิวหนัง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง มีไข้ปัสสาวะไม่ออก
แป้งฝุ่นโรยตัวโดยทั่วไป ใช้โรยตัวได้ทุกวัย (ยกเว้นเด็กอ่อน เด็กทารก และเด็กเล็ก) เพื่อช่วยให้รู้สึกสดชื่น ทำให้ผิวลื่น ลดความเหนียวเหนอะหนะของผิวกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเสียดสีของผิวหนังกับเครื่องนุ่งห่ม ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ แป้งทัลคัมและน้ำหอม แป้งทัลคัมจะช่วยทำให้ผิวลื่น รู้สึกสบายตัวและมีคุณสมบัติในการปกคลุมผิว ดูดซับได้ที ทัลคัมมีหลายชนิดชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในแป้งฝุ่นโรยตัวจะต้องมีคุณสมบัติ ตามเภสัชตำรับน้ำหอมชนิดที่ใช้ผสมในแป้งฝุ่นนั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีไม่ มีการเปลี่ยนแปลงเหม็นหืน หรือทำให้หสีของผลิตภัณฑ์เปลี่ยนแปลงและที่สำคัญที่สุดคือติ้งไม่ทำให้เกิด การแพ้แก่ผู้บริโภคด้วยแป้งฝุ่นโรยตัวบางชนิดอาจมีส่วนผสมของสารระงับเชื้อ เช่น สารส้ม หรือกรดบอริกผสมอยู่ด้วย เพื่อช่วยรักษาโรคผิวหนังบางชนิดซึ่งส่วนผสมของสารเหล่านี้จะต้องมีปริมาณ ไม่เกินที่กำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เช่น กรดบอริก ต้องมีไม่เกินร้อยละ 3.0 โดยน้ำหนัก เมนทอล ต้องมี ไม่เกินร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนัก การบูร ต้องมีไม่เกินร้อยละ 1.5 โดยน้ำหนัก นอกจากนี้ทั้งแป้งฝุ่นโรยตัวเด็ก และแป้งโรยตัวทั่วไป จะต้องมีคุณสมบัติทางจุลชีววิทยาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศ กระทรวงสาธารณสุข
ข้อควรระวังในการใช้แป้งโรยตัวเด็ก ไม่ควรเทแป้งลงบนตัวเด็ก โดยตรงเพราะอาจจะทำให้ฝุ่น ผงละอองของแป้งกระจายเข้า จมูกและปากเด็กได้ อันอาจเป็น อันตรายต่อทางเดินหายใจ และถ้า ผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้มาตรฐานมีสาร พิษปนเปื้อนอยู่ก็จะทำให้เด็กได้รับ สารพิษโดยตรง
ข้อควรแนะนำในการซื้อผลิตภัณฑ์แป้งฝุ่นโรยตัวตัว
1. ควรเลือกซื้อชนิดที่ภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพเรียบร้อยไม่บุบ หรือฉลากเลอะเทอะเห็นไม่ชัด มีแผ่นกระดาษกาวหรือแผ่นพลาสติกหุ้มบริเวณฝาที่ใช้เทแป้ง
2. เมื่อใช้แป้งฝุ่นโรยตัวทุกครั้ง ควรปิดฝาให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของฝุ่นละอองพลัดตกลงไปในภาชนะบรรจุ
3. เมื่อใช้แป้งฝุ่นโรยตัวแล้ว พบว่ามีสีและกลิ่นของแป้งเปลี่ยนไปควรหยุดใช้ เพราะอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์
4. ไม่ควรซื้อแป้งฝุ่นโรยตัวเด็ก ชนิดที่ตักแบ่งเพราะไม่ถูกสุขลักษณะอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น